สำหรับ sneakerhead มือใหม่แล้ว การจดจำชื่อและทำความเข้าใจกับส่วนประกอบของ sneakers ที่มีมากมายและบางครั้งก็แตกต่างกันไปในแต่ละรุ่นนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลย ทำให้หลายคนสับสน เรียกผิดเรียกถูก จนอาจสื่อสารกันผิดพลาดได้ หรือไม่รู้ว่าชิ้นส่วนแต่ละชิ้นของรองเท้าที่ตัวเองใส่อยู่นั้นมีเอาไว้ทำไม แต่ไม่ว่าคุณจะเป็นคอรองเท้าหรือไม่ก็ตาม หากเข้าใจส่วนประกอบต่างๆ ก็น่าจะช่วยให้สามารถเลือกซื้อรองเท้าคู่ใหม่ได้ถูกใจยิ่งขึ้น เราเลยขออาสารวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับชิ้นส่วนสำคัญของ sneakers มาเผยแพร่ไว้ตรงนี้ เพื่อเป็นอีกแหล่งอ้างอิงหนึ่งที่น่าจะเป็นประโยชน์แก่ทุกคน
โดยทั่วไปแล้ว sneakers ก็มีส่วนประกอบหลักคล้ายคลึงกับรองเท้าทั่วไป แบ่งหยาบๆ ออกเป็น 2 ส่วนหลักคือ “upper” หรือส่วนบน และ “sole” หรือส่วนล่าง แต่ละส่วนจะมีชิ้นส่วนย่อยอีกมากมาย ในบทความนี้เราจะคัดเฉพาะชิ้นส่วนที่พบเห็นได้ทั่วไปใน sneakers ซึ่งบางชิ้นส่วนอาจจะมีใน sneakers แค่บางรุ่นเท่านั้น แต่มีการพูดถึงบ่อย จึงนำมารวมเอาไว้ด้วย จะมีอะไรบ้างนั้น มาดูกันเลย
upper: ใช้เรียกส่วนบนของรองเท้าทั้งหมดที่ห่อหุ้มเท้าส่วนบนตั้งแต่ปลายเท้า หลังเท้า ไล่ไปถึงส้นเท้าเอาไว้ มีไว้เพื่อให้รองเท้าคงรูปและกระชับขณะสวมใส่ ซึ่งมีทั้งแบบขึ้นรูปเป็นชิ้นเดียว และแบบที่ประกอบด้วยหลายชิ้นส่วนที่ทำจากวัสดุหลักหลากหลายชนิดตั้งแต่วัสดุ ธรรมชาติ เช่น ผ้าฝ้าย หรือหนังชนิดต่างๆ ไปจนถึงวัสดุสังเคราะห์อย่าง โพลีเอสเตอร์ ไนลอน เป็นต้น ขึ้นอยู่การออกแบบ แต่ส่วนใหญ่จะเน้นวัสดุที่น้ำหนักเบา ยืดหยุ่น รวมทั้งระบายอากาศได้ดี ไม่อับชื้น มักตกแต่งด้วยสีสัน ลวดลาย โลโก้ สัญลักษณ์ต่างๆ ของแบรนด์หรือรองเท้ารุ่นนั้นๆ เพื่อความสวยงามและจดจำได้ง่าย ประกอบด้วยชิ้นส่วนย่อยต่อไปนี้
1. toe box: ส่วนที่ห่อหุ้มบริเวณหัวรองเท้าเอาไว้เพื่อความแข็งแรง คงรูป และช่วยเพิ่มเนื้อที่ให้นิ้วเท้าขยับได้สบายขึ้น ทั้งยังป้องกันแรงกระแทกต่อนิ้วเท้าไปในตัว มักทำด้วยวัสดุที่แข็ง เช่น แผ่นยาง หรือแผ่นหนังหนาๆ ในบางรุ่นจะใช้ปลอกรูปทรงครึ่งวงกลม เรียกว่า “toe puff” หรือ “toe cap” เสริมอีกชั้น
upper: ใช้เรียกส่วนบนของรองเท้าทั้งหมดที่ห่อหุ้มเท้าส่วนบนตั้งแต่ปลายเท้า หลังเท้า ไล่ไปถึงส้นเท้าเอาไว้ มีไว้เพื่อให้รองเท้าคงรูปและกระชับขณะสวมใส่ ซึ่งมีทั้งแบบขึ้นรูปเป็นชิ้นเดียว และแบบที่ประกอบด้วยหลายชิ้นส่วนที่ทำจากวัสดุหลักหลากหลายชนิดตั้งแต่วัสดุ ธรรมชาติ เช่น ผ้าฝ้าย หรือหนังชนิดต่างๆ ไปจนถึงวัสดุสังเคราะห์อย่าง โพลีเอสเตอร์ ไนลอน เป็นต้น ขึ้นอยู่การออกแบบ แต่ส่วนใหญ่จะเน้นวัสดุที่น้ำหนักเบา ยืดหยุ่น รวมทั้งระบายอากาศได้ดี ไม่อับชื้น มักตกแต่งด้วยสีสัน ลวดลาย โลโก้ สัญลักษณ์ต่างๆ ของแบรนด์หรือรองเท้ารุ่นนั้นๆ เพื่อความสวยงามและจดจำได้ง่าย ประกอบด้วยชิ้นส่วนย่อยต่อไปนี้
1. toe box: ส่วนที่ห่อหุ้มบริเวณหัวรองเท้าเอาไว้เพื่อความแข็งแรง คงรูป และช่วยเพิ่มเนื้อที่ให้นิ้วเท้าขยับได้สบายขึ้น ทั้งยังป้องกันแรงกระแทกต่อนิ้วเท้าไปในตัว มักทำด้วยวัสดุที่แข็ง เช่น แผ่นยาง หรือแผ่นหนังหนาๆ ในบางรุ่นจะใช้ปลอกรูปทรงครึ่งวงกลม เรียกว่า “toe puff” หรือ “toe cap” เสริมอีกชั้น
3. lace/shoelace: หรือ “เชือกผูกรองเท้า” สำหรับใช้รัดรองเท้าให้ไม่หลุดออกจากเท้าและปรับให้พอดีกับขนาดเท้า มักทำด้วยใยสังเคราะห์ หรือหนัง ในรองเท้าบางรุ่นจะใช้ “velcro” หรือ “ตีนตุ๊กแก” รัดรองเท้าแทนเชือก เช่น Vans Prison หรือใช้เสริมเชือกอีกทีอย่างใน Nike Air Yeezy II และ Adidas Yeezy Boost 750 เป็นต้น
4. aglets/lace tips: ส่วนหุ้มปลายเชือกรองเท้าทั้งสองข้าง มักห่อหุ้มด้วยพลาสติก หรืออะลูมิเนียมเพื่อให้ปลายเชือกทนทาน ไม่หลุดลุ่ย และร้อยได้ง่ายขึ้น ส่วนใหญ่มีผิวเรียบ ยกเว้นในรองเท้าบางรุ่นที่มีการตกแต่ง aglet เพื่อความสวยงาม เช่น Nike Air Yeezy II ที่ทำ aglet เป็นสีทองและสีเงิน ทรงสี่เหลี่ยม สามารถถอดเปลี่ยนได้ ดูโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์สุดๆ
5. lace lock: ที่ล็อคเชือกผูกรองเท้าให้อยู่กับที่เพื่อเพิ่มความกระชับยิ่งขึ้น และช่วยให้เชือกไม่หลุดออกขณะใช้งาน ในบางครั้งก็มีไว้เพื่อความสวยงามอย่างเดียวมักทำด้วยพลาสติกหรืออะลูมิเนียม lace lock จะมีในรองเท้าบางรุ่นเท่านั้น แต่สามารถหาซื้อมาใช้เสริมได้ ซึ่งรองเท้ารุ่นที่สร้างจุดเด่นด้วย lace lock ได้แก่ Air Jordan V, Air Jordan VI, Nike Air Force 1, Supreme x Nike Air Force 1, Supreme x Nike SB Dunk เป็นต้น
7. tongue: หรือ “ลิ้นรองเท้า” เป็นแผ่นยาวที่มีไว้เพื่อปิดหลังเท้าให้กระชับและป้องกันการเสียดสีกับเชือกโดยตรง
8. collar: หรือ “คอรองเท้า” ใช้เรียกส่วนที่เป็นขอบบนของรองเท้าและมีสันหุ้มช่วงข้อเท้าเอาไว้ในระดับความสูงที่แตกต่างกันไปในแต่ละรุ่นและการใช้งาน มักบุนวมและรับกับสรีระของข้อเท้าเพื่อความกระชับและป้องกันอาการบาดเจ็บ
9. heel tab: ส่วนที่อยู่ใต้ collar บริเวณส้นเท้า มีไว้เพื่อความกระชับและป้องกันการบาดเจ็บที่เอ็นร้อยหวาย
10. pull tab: หูสำหรับดึงเพื่อให้ใส่รองเท้าง่ายขึ้น มักทำด้วยผ้าหรือหนัง ติดไว้บริเวณ heel tab หรือ tongue มีในรองเท้าบางรุ่น เช่น Air Jordan VI, Nike Roshe Run, Adidas Yeezy Boost 350, Reebok Insta Pump Fury เป็นต้น
11. heel counter/counter/counter panel: ส่วนที่อยู่ถัดลงมาจาก heel tab ใช้เสริมความแข็งแรงที่ส้นรองเท้า รวมถึงช่วยให้การก้าวเดินมั่นคงและรองรับแรงกระแทกบริเวณส้นเท้า มักทำด้วยแผ่นหนัง พลาสติก หรือโฟม ที่หนาและแข็งแรง มีทั้งแบบบุไว้ข้างใน (inside/nternal heel counter) ที่มีในรองเท้าส่วนใหญ่ และแบบอยู่ข้างนอกรองเท้า (outside/external heel counter) เช่น Adidas ZX Flux, Nike Air Huarache, Nike Hyperdunk เป็นต้น
12. lining: หรือ “ซับในรองเท้า” มีไว้เพื่อเพิ่มความนุ่มสบายขณะสวมใส่และเพื่อยืดอายุการใช้งานรองเท้า ผลิตจากวัสดุหลากหลายชนิดที่มีความนิ่ม เช่น หนัง ผ้า และใยสังเคราะห์ เป็นต้น
sole: หรือพื้นรองเท้า ใช้เรียกส่วนล่างของรองเท้าทั้งหมดทั้งด้านในและด้านนอก เชื่อมต่อกับ upper ด้วยการติดกาวหรือเย็บ วัสดุที่นิยมใช้กันมีมากมายตั้งแต่ ใยสังเคราะห์, ยาง, พลาสติก, โฟมชนิดต่างๆ, PVC, หรืออาจผสมหลายวัสดุเข้าด้วยกัน เพื่อให้มีคุณสมบัติหลากหลายทั้งความนุ่มสบาย น้ำหนักเบา ยืดหยุ่น รองรับแรงกระแทกได้ดี และทนทานในขณะเดียวกัน ซึ่ง sole ประกอบด้วยชิ้นส่วนต่อไปนี้
1. insole/innersole/inner sole/inlay sole: หรือที่เรียกว่า “รองใน” หรือ “พื้นใน” คอยทำหน้าที่กั้นระหว่างพื้นรองเท้ากับฝ่าเท้าเอาไว้ มักบุนวมและเป็นแผ่นบางๆ ที่มีรูปทรงรับกับฝ่าเท้าพอดีเพื่อหนุนเท้าให้เคลื่อนไหวสบายขึ้น มักทำจากใยสังเคราะห์ หรือ EVA ที่นิ่ม ยืดหยุ่น และระบายอากาศดี รองเท้าหลายๆ รุ่นสามารถดึง insole ออกมาเปลี่ยนหรือทำความสะอาดได้ บางรุ่นมี insole ให้เลือกใช้ตามชอบอย่างเช่น Air Jordan 2012 ที่มี insole มาให้เปลี่ยน 3 สี 3 สไตล์การใช้งานเลย ทั้งยังสามารถหาซื้อแบบที่เหมาะกับเท้าหรือการใช้งานของแต่ละคนมาเปลี่ยนได้ อีกด้วย
2. midsole/middle sole: พื้นรองเท้าชั้นกลาง มีความหนามากที่สุดในส่วนประกอบทั้งหมด มักทำด้วยวัสดุอย่าง EVA, หรือ PU ที่มีความยืดหยุ่น ภายในอาจมีการบุด้วยถุงลมอย่างเทคโนโลยี Nike Air ในรองเท้า Nike Air Max, บุด้วยเจล เช่น ASICS GEL ในรองเท้า ASICS GEL-Lyte, หรือใช้โฟม เช่น Boost ในรองเท้า Adidas Ultra Boost หรือ วัสดุอื่นๆ ที่บริเวณส้นเท้าและอาจมีเพิ่มเติมที่ปลายเท้า หรือครอบคลุมทั่วทั้งฝ่าเท้าเพื่อความนุ่มสบายและดูดซับแรงกระแทกขณะเหยียบ พื้น ซึ่ง midsole ที่ออกแบบมาดีจะทำให้การก้าวเท้าเป็นธรรมชาติ ทรงตัวได้ดี รวมถึงลดอาการบาดเจ็บได้ ถือเป็นส่วนที่เรียกได้ว่า “สำคัญที่สุด” และเต็มไปด้วยเทคโนโลยีมากที่สุดของรองเท้าโดยเฉพาะในรองเท้าวิ่ง
3. outsole/outersole/outer sole: พื้นรองเท้าด้านนอก เนื่องจากเป็นส่วนที่ต้องสัมผัสพื้นอยู่เสมอจึงต้องทำด้วยวัสดุที่มีความทน ทานสูงเช่นยางธรรมชาติหรือยางสังเคราะห์ที่ยึดเกาะพื้นดี และกันน้ำ มักมีดอกยางเพื่อให้ยึดเกาะพื้นได้ดีขึ้นวัสดุที่ใช้ ในบางครั้ง outsole จะเรียกกันย่อๆ ว่า sole
4. shank/shank plate: ก้านเสริมความแข็งแรงของพื้นรองเท้าไม่ให้บิดงอ โดยติดเอาไว้ที่ midsole บริเวณอุ้งเท้า มักทำจากวัสดุที่มีความแข็งแรง เช่น พลาสติก ไปจนถึง กราไฟท์, คอร์บอนไฟเบอร์, หรือ ไทเทเนียม เป็นต้น มีในรองเท้าบางรุ่น เช่น Adidas ZX8000, Nike Air Foamposite One, Air Jordan XI, Reebok Shaq Attaq เป็นต้น
โลกของ sneakers นั้นกว้างใหญ่และเต็มไปด้วยคำศัพท์อีกมากมายนอกจากส่วนประกอบของรองเท้าซึ่งเป็นไปไม่ได้เลยที่จะรวบรวมทุกอย่างเอาไว้ได้ในบทความเดียว แต่อย่างน้อยเราก็หวังว่าบทความนี้จะช่วยเสริมความรู้พื้นฐานให้คุณสามารถเลือกซื้อรองเท้าคู่ใหม่ได้อย่างมั่นใจ และหากมีข้อมูลไหนเกี่ยวกับรองเท้าที่น่าจะเป็นประโยชน์ เราจะหยิบมานำเสนออีกอย่างแน่นอน โปรดติดตาม
Text: Pakazite
Illustration: Parimroj Design
Reference:
wiki / soletheory / shoephoric / solecollector / shoedigest