[spb_single_image image=”12824″ image_size=”full” frame=”noframe” full_width=”no” lightbox=”yes” link_target=”_self” width=”1/1″ el_position=”first last”] [/spb_single_image] [fullwidth_text alt_background=”none” width=”1/1″ el_position=”first last”]
จากเด็กคนหนึ่งที่ชอบถ่ายรูปเพราะได้รับอิทธิพลมาจากพ่อที่คอยบันทึกเรื่องราวในวัยเยาว์ของเขาไว้ตลอด แอ๊ด พีรพัฒน์ วิมลมังครัตน์ เติบโตขึ้นมาพร้อมกับการเรียนรู้วิธีถ่ายกล้องฟิล์มที่ศึกษาด้วยตนเอง ครูพักลักจำจากคนอื่นๆ และลองผิดลองถูกจากประสบการณ์จริงตั้งแต่ยังเป็นมือสมัครเล่นเมื่อปี 2000 หลังจากเรียนจบก็เริ่มเส้นทางช่างภาพมืออาชีพให้กับนิตยสารแนวสถาปัตยกรรม ต่อมาก็ทำงานให้กับนิตยสารแนว lifestyle และยังเป็นช่างภาพประจำตัวคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สมัยยังดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และรวมเล่มเป็นหนังสือชื่อ “มองมาร์ค” ถึง 2 เล่ม เก็บเกี่ยวประสบการณ์มานาน จนในวันนี้ เขาเป็นที่รู้จักในนามของ “ADD Candid” และเพิ่งเปิดนิทรรศการภาพถ่ายขาว-ดำจากกรุงปารีสชื่อ “À Paris” ที่ร้าน INK & LION Café เอกมัย ซอย 2 ไปเมื่อวันศุกร์ ที่ 13 ก.พ. 2015 ที่ผ่านมา เราจึงแวะไปเยี่ยมชมนิทรรศการที่ว่า พร้อมทั้งสัมภาษณ์เขาเกี่ยวกับที่มาของผลงานครั้งนี้ รวมถึงมนตร์เสน่ห์ของฝรั่งเศสที่เขาได้ไปสัมผัสมา
[/fullwidth_text] [fullwidth_text alt_background=”none” width=”1/2″ el_position=”first”]
About Peerapat
- เกิดที่เชียงใหม่ เรียนที่นั่นถึง ป. 4 แล้วย้ายมาอยู่กรุงเทพฯจนปัจจุบัน ทั้งรักทั้งเกลียดกรุงเทพฯ แต่ก็ไม่อยากไปไหน
- จบจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ABAC เป็นรุ่นที่ 4 แต่เบื่อการทำโมเดล เลยหันมายึดอาชีพถ่ายรูปแทน
- ไม่ชอบไปดูรูป reference จากคนอื่นเพราะกลัวจะติดสไตล์มา เลยใช้เซนส์ตัวเองในการถ่ายรูปมาตลอด
- เชื่อว่าทุกคนที่มีกล้องอยู่ในมือเป็นผู้บันทึกประวัติศาสตร์
Instagram: @addcandid
[/fullwidth_text] [fullwidth_text alt_background=”none” width=”1/2″ el_position=”last”]
ที่หน้านิทรรศการเขียนว่า Mood Indigo ทำให้คุณตัดสินใจไปปารีส ประทับใจอะไรในหนังเรื่องนี้
ไปดูหนังเรื่องนี้ที่ Lido เสร็จปุ๊บ รู้สึกเลยว่ามันต้องออกไปหาแรงบันดาลใจ เรื่องนี้มันถ่ายมุมต่างๆในฝรั่งเศสได้น่าสนใจ เลยคิดว่าเราน่าจะไปหามุมที่คนทั่วไปไม่อยากไปถ่าย เป็นมุมที่คนฝรั่งเศสชินตา แต่เราไม่ชินตา ซึ่งปกติเราจะชินแต่พวก icon ต่างๆของฝรั่งเศส เราเลยเลือกถ่ายมุมคนทั่วไปในชีวิตประจำวันแทน
ชอบอะไรเกี่ยวกับปารีสบ้าง
ชอบตรงที่บางครั้งมันไม่ต้องสะอาดหรือสวยงามขนาดนั้นแต่มันมีเสน่ห์ ทุกอย่างของปารีสมันเป็นศิลปะ ตั้งแต่เดินออกจากบ้าน เจอกำแพง graffiti เน่าๆยังผ่านการคิดมาก่อน เหมือนว่าคนที่ทำงานศิลปะในปารีสคือคนเดินถนนทั่วไป ทุกคนมีความเป็นศิลปินในตัวหมดเลย ไม่อยากใช้คำว่า DNA เพราะที่จริงทุกคนสามารถฝึกได้ แต่เพราะคนฝรั่งเศสเขาให้ความสำคัญกับศิลปะมาก เป็นประเทศที่แคร์เรื่องนี้เป็นอันดับต้นๆของโลก
มีคนไทยหลายคนชอบฝรั่งเศส แต่ก็มีอีกหลายคนบอกว่าเกลียดฝรั่งเศสเพราะนิสัยคนฝรั่งเศส โดยเฉพาะนิสัยชอบเหยียดคนอื่น บางคนอาจจะไปเจอแต่คนเหยียดพอดีก็ได้ แต่ผมเจอทั้งคู่ ก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณจะเปิดใจยอมรับมันได้ไหม อย่างแฟนผมเมื่อก่อนเกลียดฝรั่งเศสมาก แต่ตอนที่ผมไปถ่ายรูปมายังไม่ได้คบกัน ก็ได้เล่าให้ฟังว่าที่ฝรั่งเศสเป็นยังไง มันมีเรื่องราวบางอย่างที่ทำให้เขารู้สึกกับคนฝรั่งเศสดีขึ้น ซึ่งต่อมาเขาเป็นคนวางเล่ม photo book ให้เรา จนเขาชอบฝรั่งเศสในที่สุด
[/fullwidth_text] [spb_single_image image=”12823″ image_size=”full” frame=”noframe” full_width=”no” lightbox=”yes” link_target=”_self” width=”1/1″ el_position=”first last”] [/spb_single_image] [fullwidth_text alt_background=”none” width=”1/1″ el_position=”first last”]
เตรียมแผนงานนิทรรศการ À Paris ไว้อย่างไร
จริงๆไม่ได้ตั้งใจแต่แรกว่าจะเอามาโชว์ในงาน แต่มีการแพลนว่าจะทำหนังสือ photo book ตั้งแต่ครั้งแรกที่ไปปารีสในปี 2012 ส่วนหนึ่งที่อยากทำ photo book เพราะทำงานสายหนังสือมา แต่ในเมืองไทยการทำแบบนี้มันไม่ค่อยได้รับความนิยมหรือการสนับสนุนที่ดีเท่าไหร่ ไม่เหมือนในต่างประเทศที่ช่างภาพทั่วไปเขาสามารถทำ photo book โดยพิมพ์ออกมาในจำนวนไม่มาก แต่ใช้กระดาษคุณภาพดี แล้วขายได้ ในขณะที่เมืองไทยค่ากระดาษก็แพง ค่าขนส่งก็แพง ทุกอย่างมันแพงหมด หลายคนคงอยากจะทำ แต่บางทีพอเจอข้อจำกัดเรื่องเงิน ความฝันก็เลยต้องล้มไป ทีนี้แพลนในการทำ photo book ของผมก็เลยเกิดเป็น exhibition ขึ้นมาก่อน น่าจะดีกว่า
ตอนไปปารีสครั้งแรกเป็นช่วงสงกรานต์เพราะมีหยุดยาว แต่ไม่ได้อยู่แค่ฝรั่งเศส เหมือนไปทัวร์ยุโรปเลย ใช้เวลาทั้งหมดเดือนหนึ่ง ซึ่งปารีสเป็นจุดที่หยุดพักนาน 10 วัน แต่พอดีไปกับน้อง เลยไม่ค่อยได้ที่ที่อยากไปเท่าไหร่ ล่าสุดคือปี 2013 เป็นทริปที่ไปคนเดียว ได้ใช้เวลาเต็มที่ ไม่ต้องรีบ เราไม่อยากไปแบบ tourist อยากไปใช้ชีวิตแบบคนที่นั่น ตื่นสายๆ กินกาแฟ ได้ใช้ชีวิตหน่อย ก็ใช้เวลาในทริปนี้ทั้งสิ้น 17 วัน แต่ไปเดือนพฤศจิกายน เป็นช่วงหน้าหนาว ซึ่งแสงที่ได้มันต่างกัน ชอบที่ไปครั้งแรกมากกว่าเพราะว่าเป็นฤดูใบไม้ผลิ พระอาทิตย์ตกช้ากว่า เดินหาแสงง่าย แต่บางทีมัวแต่มองแสง เดินหาแสงจนหลงทาง เลยเกิดเป็นเรื่องราวอะไรบางอย่างที่เกิดขึ้นโดยไม่ตั้งใจ ได้เจออะไรใหม่ๆ
ทำไมถึงเลือกที่จะถ่ายเป็นภาพขาว-ดำ
เพื่อตัดประเด็นเรื่องสีออก เอาเฉพาะเนื้อหาจริงๆที่ต้องการจะสื่อ
เทคนิคในการถ่ายให้ได้ภาพอย่างที่ต้องการ
หลักๆ ก็รอครับ เราเห็น composition อยู่แล้ว เราแค่จัดมันอีกนิดหน่อย แล้วก็แค่รอจังหวะกดชัตเตอร์ อย่างเช่นรูปนั้น(ชี้ไปที่ภาพผู้ชายนั่งในร้านกาแฟ หันมามองกล้องพอดี) ตอนที่เราเล็งเขา เขายังไม่ได้หันมา เราก็รอจนกว่าเขาจะหันมา พอเขาเจอกล้องเขาก็ทำหน้าเซ็งๆนิดหน่อยเหมือนโดนแอบถ่าย เพราะที่โน่นคนเขาชอบความเป็นส่วนตัวมาก ไม่ชอบโดนถ่ายรูป
ส่วนภาพหลักของนิทรรศการนี้(ภาพชาย-หญิงจูบกัน) มาจากที่ว่าผมรู้สึกว่าสะพานตรงนั้นมันสวยดี เลยลองเสิร์ชดูว่ามันอยู่ตรงไหน พอเจอก็ลองเดินทางไปดู ซึ่งสะพานตรงนี้เหมือนเป็น landmark หนึ่งที่คนชอบมาถ่ายรูปกันเยอะ ตอนไปก็มีคนไปถ่าย pre-wedding แบบจริงจังเลย พอดีเห็นคู่นี้ยืนสวีตกันอยู่ เราก็เดินเข้าไปใกล้ๆ ใช้เสื้อคลุมบังกล้องไว้ พอถ่ายเสร็จเขาหันมามองเรา ก็เลยชวนคุยแก้เขิน เขาไม่ด่าก็ดีแล้ว หรือถึงด่าก็ฟังไม่รู้เรื่องอยู่ดี
[/fullwidth_text] [spb_single_image image=”12828″ image_size=”full” frame=”noframe” full_width=”no” lightbox=”yes” link_target=”_self” width=”1/1″ el_position=”first last”] [/spb_single_image] [fullwidth_text alt_background=”none” width=”1/1″ el_position=”first last”]
ได้ข่าวว่าภาพจากทริปนี้ภาพหนึ่งได้รับรางวัลจากสมาคมถ่ายภาพฯ ด้วย
ใช่ครับ แต่ไม่ได้นำมาจัดแสดง เพราะทางสมาคมฯ เขาเขียนเงื่อนไขไว้แล้วว่า ถ้าภาพไหนได้รางวัล เขาจะขอสงวนสิทธิ์เลย เราก็เลยส่งภาพใน iPhone ไปเลย แล้วก็ได้รางวัลชมเชยมา จริงๆก็ต้องไปรับรางวัลในอีก 45 นาทีนี้นะแต่ไม่ไปเพราะมันชนกับงานนี้พอดี
นอกจากภาพถ่าย ได้อะไรกลับมาจากปารีสอีกบ้าง
ได้แรงบันดาลใจ ได้มุมมองที่เปิดกว้างของคนฝรั่งเศส ความกล้าวิจารณ์งานคนอื่น พอกลับมาก็เลยชอบวิจารณ์งานคนอื่น แต่มันไม่เหมือนกันตรงที่บ้านเราเห็นว่าไม่ควรแสดงความเห็นส่วนตัวต่องานคนอื่นมากเกินไป
อุปกรณ์ที่ใช้ในทริปนี้
ที่ใช้ในทริปนี้หลักๆเป็นกล้อง Rolleiflex 2.8 F ที่จริงผมใช้ Rolleiflex มาตั้งแต่ตอนเรียน แต่ตอนนั้นเป็นรุ่น 3.5 F พอเรียนจบก็ขยับมาเป็นรุ่นอื่น ที่เอารุ่นนี้ไปเนื่องจากบางสถานที่แสงมันน้อย ใช้ F สูงก็ช่วยได้ แล้วก็มีกล้องคอมแพ็คของ Contax T3 เอาไว้ snap ในที่มืดๆ นอกจากนั้นก็มี Leica รุ่น M9P แต่ Leica แทบไม่ได้ใช้ เก็บไว้ที่ห้อง ยิ่งพกไปเยอะยิ่งไม่คล่องตัวและอันตรายเพราะเป็นจุดสนใจ ผมต้องไปซื้อกระเป๋าแยกเลยนะ ให้มันดูไม่เป็นกระเป๋ากล้อง เพราะที่โน่นเองเขาก็เตือนว่าบางทีอาจจะโดนลากไปกระทืบแล้วฉกเอากล้องไปได้ง่ายๆ ผมก็เลยกันไว้ดีกว่าแก้ ส่วนฟิล์มขาว-ดำ ผมชอบใช้ ILFORD HP5 Plus ตอนจะไปก็เอาฟิล์มไป 40 กว่าม้วนครับ มีที่วัดแสงไปด้วย ม้วนท้ายๆจะพยายามดันให้หมดเพราะไม่อยากให้มันคาอยู่ในกล้อง บางทีก็ใช้มือถือถ่ายแล้วอัพขึ้น Instagram ด้วย
[/fullwidth_text] [spb_single_image image=”12827″ image_size=”full” frame=”noframe” full_width=”no” lightbox=”yes” link_target=”_self” width=”1/1″ el_position=”first last”] [/spb_single_image] [fullwidth_text alt_background=”none” width=”1/1″ el_position=”first last”]
ทำไมถึงเลือกใช้ Rolleiflex เป็นหลัก
ผมชอบ square format ซึ่งการวาง composition แบบนี้บางคนบอกว่ายาก แต่ผมว่าง่ายนะ มันสนุกตรงที่มันเหมือนกล้องแอบถ่าย แค่ก้มลงมองข้างล่าง ไม่ต้องยกกล้องขึ้นมา ไม่ได้เด่นอะไร ปกติแล้วถ้าจะไปต่างประเทศจะหยิบแต่กล้องฟิล์มไปเป็นส่วนใหญ่ ถ้าเราไปเองเพื่อพักผ่อน ไม่ได้ไปทำงาน เราก็อยากจะใช้ชีวิตช้าๆ ในเมื่อต้องการความช้าทำไมต้องใช้ดิจิทัล ถ้าใช้กล้องดิจิทัล เวลาถ่ายเสร็จก็ต้องมาดูรูปอีก แต่พอกล้องฟิล์มเราสามารถใช้เวลาในการถ่าย ในการมอง ถ้ามัวมานั่งดูจอ เราจะไม่เห็นในสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากนั้นเลย มัวแต่สนใจว่าภาพมันดีหรือยัง แต่เราอาจจะพลาดในหลายๆสิ่งที่มันอาจจะเกิดขึ้นต่อเนื่อง จริงๆตอนถ่ายเสร็จก็กลัวว่าภาพจะเสียเหมือนกัน แต่บางภาพมีจุดที่เสียอยู่นิดหน่อยเราก็ปล่อยให้มันเกิดขึ้นไปเลยเพราะว่ามันคือความรู้สึกของฟิล์มน่ะ
ในบรรดากล้องที่มี ชอบกล้องไหนมากที่สุด
ถ้าเป็นฟิล์ม จะหยิบ Rolleiflex ออกไปไหนด้วยกันบ่อยที่สุด แต่ก็ไม่รู้ว่าชอบที่สุดหรือเปล่า เพราะมีชอบหลายตัว แต่ถ้าเป็นดิจิทัลก็เป็น Leica M9P เหตุที่เป็น Leica เพราะว่ามันตัวเล็ก คุณภาพไฟล์ ใช้งานสะดวกกว่าพวก DSLR ทั่วไปที่ตัวใหญ่กว่าด้วย ทำให้ไม่อยากพก ปวดหลัง ตอนแรกก็รู้สึกว่ามันแพง แต่ก็ลองดู เพราะมันเท่ บอดี้มันสวยงาม เมื่อ 2-3 ปีก่อนคนยังใช้ Leica น้อยอยู่ พกแล้วรู้สึกโคตรเท่เลย แต่ตอนนี้อยากซ่อน คนใช้เยอะมาก ราคาก็ลง แต่พอใช้ไปเรื่อยๆ เราลืมไปเลยว่าความเท่ ความสวยตรงนั้นคืออะไร เพราะเราพบว่ามันใช้งานได้ดีจริงๆ ถ้าโฟกัสเข้าก็จบแล้ว ไม่ต้องไปปรับอะไรอีกแล้ว
ปกติถ้าไปถ่ายเอง ไม่ได้ไปทำงาน จะเลือกกล้องฟิล์ม เพราะมันเบากว่า ไม่ต้องกลัวว่าแบตจะหมด และไม่ต้องกังวลว่าต้องมาเช็คภาพที่ได้ แม้มันจะไม่ชัวร์แต่มันสนุก มันลุ้นดี ได้ก็ดี พอไม่ได้ก็แอบเสียดาย แต่ก็ทำให้เราอยากออกไปถ่ายใหม่ บางทีก็ช่างมัน แต่ก็ดีที่เราไม่ต้องลบตรงนั้นแล้วถ่ายใหม่ สุดท้ายแล้วโมเมนต์นั้นมันอยู่ในความทรงจำเราไปตลอด บางทีใช้กล้องดิจิทัลถ่ายไปเรายังจำไม่ได้เลยว่าเรื่องที่เกิดขึ้นข้างหน้าเราคืออะไรเพราะเรามัวแต่ถ่ายเพื่อให้มันดี แต่เราไม่จำรายละเอียดว่ามันเกิดอะไรขึ้น แต่ผมต้องการเก็บรายละเอียดตรงนั้น เลยเลือกฟิล์ม
[/fullwidth_text] [spb_single_image image=”12821″ image_size=”full” frame=”noframe” full_width=”no” lightbox=”yes” link_target=”_self” width=”1/1″ el_position=”first last”] [/spb_single_image] [fullwidth_text alt_background=”none” width=”1/1″ el_position=”first last”]
ความรู้จากการเรียนสถาปัตย์ส่งผลต่อการถ่ายรูปไหม อย่างไร
ครับ ได้มุมมอง ได้ความรู้เรื่องการวาง composition ทิศทางแสง แต่เรื่องราวในภาพก็แล้วแต่คนชอบมากกว่า แม้แต่ composition เอง แต่ละคนก็ต่างกันไป บางคนชอบความหวือหวา แต่ตัวเราเองชอบอะไรนิ่งๆ ชอบอะไรที่เป็น symmetry ก็เลยถ่ายภาพมาในลักษณะที่ลง grid system ด้วย
ได้ประสบการณ์อะไรจากหนังสือ “มองมาร์ค”
มันเป็นประสบการณ์คนละแบบกับที่เคยถ่ายหนังสือทั่วๆไป ซึ่งเล่มนั้นมันมีการแทรกภาพที่มีความเป็นตัวเราลงไปในหน้าคั่นระหว่างบทที่ไม่มีรูปคุณอภิสิทธิ์ เหมือนการถ่ายเล่น เพื่อเป็นการเบรค ไม่งั้นมันจะเหมือนหนังสือดาราเกินไป มันต้องมีความคิดของคนถ่าย คนเขียนหนังสือเล่มนี้ซึ่งก็คือผมเองลงไปด้วย ไม่ได้จะส่งเสริมภาพลักษณ์เขาอย่างเดียว ให้คนอ่านได้เห็นว่ามุมมองของคนทำเป็นยังไง อยากให้เรียนรู้ทั้งสองฝ่ายมากกว่า
[/fullwidth_text] [spb_single_image image=”12832″ image_size=”full” frame=”noframe” full_width=”no” lightbox=”yes” link_target=”_self” width=”1/1″ el_position=”first last”] [/spb_single_image] [fullwidth_text alt_background=”none” width=”1/1″ el_position=”first last”]
จากการได้ถ่ายภาพมาหลายแนว ชอบถ่ายแนวไหนที่สุด
บางทีผมก็ไม่ค่อยรู้ตัวเองว่าเป็นแนวไหน ไม่กล้าเรียกว่าตัวเองเป็นช่างภาพ street ทั้งๆที่ก็ชอบเดินไปถ่ายรูปตามถนน เคยถามพี่คนหนึ่งว่าแนวอย่างผมเขาเรียกว่า street ไหม เขาก็บอกว่าใช่นะ แต่ไม่ใช่ street เมืองไทย เป็น street เมืองนอก ที่นำเสนอในสิ่งที่มันเป็นจริงๆ ง่ายๆ ไม่ต้องมีอะไรมากมาย ก็คงต้องขอความเห็นจากหลายๆคนแหละ แต่ตัวผมเองจะรู้ตัวว่าชอบถ่ายรูปผู้คนในสถานที่ต่างๆมากกว่าในสตูดิโอ
ตั้งเป้าการถ่ายรูปของตัวเองไว้อย่างไร
ไม่เชิงว่าตั้งเป้า แต่อยากถ่ายรูปออกมาให้เป็นงานต่อเนื่องได้ จริงๆ หลักๆก็อยากทำ photo book นะ อยากทำเหมือนเป็นไดอารี่ตัวเองและดูว่าเราประมวลผลงานตัวเองได้ระดับไหน เพราะการทำ photo book มันยากในแง่ที่เราต้องเลือกรูป ยิ่งเพิ่มหน้า ราคาก็เพิ่ม ต้องคัดเลือกสิ่งที่ชอบที่สุดลงไป ในขณะที่การโพสต์ลงไปในโซเชียลมีเดียมันไม่มีทางเต็ม ทำให้เราได้คิดอีกสเต็ปหนึ่งหลังจากที่ไปถ่ายมาแล้ว ซึ่งการถ่ายรูปจริงๆแล้วมันก็ไม่ได้สมบูรณ์ ต้องมาที่ขั้นตอนการ process การล้าง การอัด มันไม่ได้จบแค่การกดชัตเตอร์
[/fullwidth_text] [fullwidth_text alt_background=”none” width=”1/1″ el_position=”first last”]
นิทรรศการ À Paris ยังคงเปิดแสดงต่อไปจนถึงวันที่ 17 มีนาคมนี้ ใครที่มีเวลา ลองแวะไปนั่งชิล นั่งชมภาพถ่ายกันได้ทุกวันจันทร์-อังคาร, พฤหัสบดี-ศุกร์ เวลา 9.00 – 18.00 น. และเสาร์-อาทิตย์ เวลา 10.00 – 19.00 น. (ร้านปิดวันพุธ) หากโชคดี คุณอาจได้เจอเจ้าของผลงานตัวจริงก็เป็นได้ และเราหวังว่าจะได้เห็นผลงานชิ้นต่อไปของเขาเร็วๆนี้
สุดท้ายนี้ อย่าลืมติดตามภาพถ่ายสวยๆจาก IG: @sneakavibes และเราขอเชิญชวนให้คุณมาร่วมสร้างสรรค์และแชร์ภาพถ่ายจากมุมมองของคุณกับเรา ไม่ว่าจะเป็นภาพจากคน วัตถุ สสาร หรือ สถานที่ อะไรก็ได้ที่แสดงความรู้สึก ด้วยการติด #sneakavibes ในภาพ ไม่แน่…คนที่เราไปสัมภาษณ์คนต่อไปอาจเป็นคุณ
[/fullwidth_text]